วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

กระรอก


 กระรอก (Squirrel, วงศ์: Sciuridae) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยน์ตากลมดำ หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ

กระรอกอาจแบ่งได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ ได้แก่ 
กระรอกต้นไม้ (tree squirrels) กระรอกดิน (ground squirrels) และ กระรอกบิน (flying squirrels)

วงศ์กระรอกมี วงศ์ย่อย 2 วงศ์ คือ
1. Pteromyinae ได้แก่ กระรอกบิน
2. วงศ์ Sciurinae ได้แก่ กระรอกต้นไม้, กระรอกดิน, ชิพมั้งค์

           กระรอกต้นไม้ เป็นกระรอกที่มักพบเห็นได้บ่อยและคุ้นเคยกันดี มีหางยาวเป็นพวงสวยงาม มีกรงเล็บแหลมคม และมีใบหูใหญ่ บางชนิดมีปอยขนที่หู ส่วนกระรอกบินนั้น จะมีพังผืดข้างลำตัว สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มักเป็นหากินในตอนกลางคืน มีตาสะท้อนแสงไฟ กระรอกดิน มักจะมีรูปร่างสั้น และล่ำสันกว่ากระรอกต้นไม้ มีขาหน้าแข็งแรงใช้สำหรับการขุดดิน หางของกระรอกดินนั้นจะสั้นกว่าหางของกระรอกต้นไม้ และไม่ฟูเป็นพวงนัก และเช่นเดียวกับสัตว์ฟันกัดแทะชนิดอื่น ๆ กระรอกจะมีนิ้วเท้าหลังข้างละ 5 นิ้ว และ นิ้วเท้าหน้าข้างละ 4 นิ้ว ตรงส่วนที่น่าจะเป็นนิ้วโป้งจะกลายเป็นปุ่มนูน ๆ ซึ่งถูกพัฒนาให้เหมาะสำหรับจับอาหารมาแทะ

          กระรอกมีขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ กันไปตามสายพันธุ์ และสามารถแบ่งตามขนาดได้ 3 กลุ่ม คือ ขนาดใหญ่ เช่น พญากระรอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทยพบอยู่เพียง 2 ชนิด คือ พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) และพญากระรอกเหลือง (R. affinis) ซึ่งได้ถูกขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ขนาดกลาง เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) กระจ้อน (Menetes berdmorei) และ ขนาดเล็ก เช่น กระเล็น (กระถิก) (Tamiops spp.) ซึ่งเป็นกระรอกที่เล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย

         กระรอกเป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวมาก อาหารของกระรอกคือ ผลไม้ และ เมล็ดพืช เป็นหลัก แต่กระรอกก็ยังชอบกินแมลงด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะกระรอกขนาดใหญ่อย่างพญากระรอก นั้นบางครั้งก็ยังกินไข่นกเป็นอาหารอีกด้วย

         ด้วยความน่ารักของกระรอก ทำให้กระรอกหลายชนิดนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ เพื่อความเพลิดเพลิน


กระรอกที่พบในประเทศไทย 

กลุ่มกระรอกต้นไม้ ทั้งหมด 13 ชนิด

พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor)
พญากระรอกเหลือง (Ratufa affinis)
กระรอกข้างลายท้องแดง (Callosciurus notatus)
กระรอกข้างลายท้องเทา (Callosciurus nigrovittatus)
กระรอกท้องแดง (Callosciurus erythraeus)
กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni)
กระรอกปลายหางดำ (Callosciurus caniceps)
กระรอกสามสี (Callosciurus prevostii)
กระรอกหางม้าใหญ่ (Sundasciurus hippurus)
กระรอกหางม้าเล็ก (Sundasciurus tenuis)
กระรอกหางม้าจิ๋ว (Sundasciurus lowii)
กระเล็นขนปลายหูยาว (Tamiops rodolphei) 
 กระเล็นขนปลายหูสั้น (Tamiops mcclellandi)

กลุ่มกระรอกดิน มี 4 ชนิด
กระจ้อน (Menetes berdmorei)
กระรอกหน้ากระแต (Rhinosciurus laticaudatus)
กระรอกลายแถบ (Lariscus insignis)
กระรอกดินแก้มแดง (Dremomys rufigenis)

กลุ่มกระรอกบิน มี 12 ชนิด
พญากระรอกบินหูดำ (Petaurista elegans)
พญากระรอกบินหูแดง (Petaurista petaurista)
พญากระรอกบินหูดำหางเข้ม (Petaurista philippensis)
พญากระรอกบินสีดำ (Aeromys tephomelas)
กระรอกบินเล็กแก้มขาว (Hylopetes phayrei)
กระรอกบินเล็กเขาสูง (Hylopetes alboniger)
กระรอกบินแก้มสีแดง (Hylopetes spadiceus)
กระรอกบินแก้มเทา (Hylopetes lepidus)
กระรอกบินจิ๋วท้องขาว (Petinomys setosus)
กระรอกบินจิ๋วมลายู (Petinomys vordermanni)
กระรอกบินเท้าขน (Trogopterus pearsoni) 
กระรอกบินสีเขม่า (Pteromyscus pulverulentus

  
        การเจริญพันธุ์ 
วัยเจริญพันธุ์ของกระรอกจะแตกต่างกันไป แล้วแต่สายพันธุ์ จะเริ่มตั้งแต่ 4 เดือน ถึง 2 ปี ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 20-40 วัน จำนวนลูกไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่ประมาณ 1-2 ตัว อายุขัยอาจจะสามารถยาวนานได้ถึง 10 ปี

       การเลี้ยงลูกกระรอก  
ลูกกระรอกจะเลี้ยงค่อนข้างยากเนื่องจาก ผู้ขายมักจะนำมาจากแม่ในธรรมชาติ มากกว่าที่จะมีการเพาะเลี้ยงได้เอง ดังนั้นจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพพอสมควร เพราะไม่ได้รับน้ำนมจากแม่มาอย่างเพียงพอ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เลี้ยงกระรอกที่เล็กเกินไป ลูกกระรอกที่ยังไม่ลืมตาต้องมีการกระตุ้นให้ตาเปิดโดยใช้สำลี ชุบน้ำหมาดเช็ดที่ตามทุกวัน นอกจากนี้ต้องเช็ดที่ก้นด้วยเพื่อกระตุ้นการขับถ่าย  

       อาหารลูกกระรอก
ลูกกระรอกที่ยังไม่หย่านมจำเป็นต้องกินน้ำนม น้ำนมส่วนใหญ่ที่ให้กินจะเป็นนมผงสำหรับเด็กแรกเกิด หรือนมผงสำหรับเลี้ยงลูกสุนัข หรือกระต่าย หรือหนู นอกจากนี้อาจให้เป็นนมถั่วเหลืองได้ สำหรับนมวัวไม่แนะนำให้ใช้ เพราะมักจะเป็นสาเหตุให้กระรอกท้องเสียได้ เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลที่ลูกกระรอกไม่สามารถย่อยได้มาก การชงนม ต้องชงใหม่ทุกครั้ง และไม่ให้นมที่ร้อนเกินไปแก่ลูกกระรอก การชงนมไม่ควรให้เข้มข้นเกินไปเพราะจะกินยาก และทำให้เกิดการท้องอืด หรือท้องเสียได้ การป้อนนมนิยมใช้กระบอกฉีดยาขนาดเล็กค่อยๆหยอดให้กิน อย่าให้เร็วหรือมากเกินไปในแต่ละครั้ง เพราะอาจทำให้สำลักได้ซึ่งจะส่งผลให้ลูกกระรอกเป็นปอดบวมได้ ลูกกระรอกควรได้กินนมประมาณ 5 ครั้งต่อหนึ่งวัน ในแต่ละครั้งไม่ควรให้จนอิ่มเกินไปเพราะจะทำให้ท้องอืดได้ 

       ที่อยู่ของลูกกระรอก
ลูกกระรอกต้องการความอบอุ่นมากกว่ากระรอกโต ดังนั้นที่อยู่ของมันควรจะปราศจากลมพัด อากาศอบอุ่น ควรมีการตั้งหลอดไฟ เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ลูกกระรอก มีผ้าเพื่อให้ลูกกระรอกซุกตัว และปลอดภัยจากสัตว์อื่นรวมทั้ง เด็กที่อาจจะเข้ามารบกวน และอันตรายแก่ลูกกระรอกได้ 

       การหย่านม
ควรเริ่มให้อาหารอ่อนเมื่อเมื่อลูกกระรอกอายุประมาณ 2-3 เดือน แต่คนเลี้ยงไม่นิยมหย่านมลูกกระรอกเนื่องจากสามารถให้นมเป็นอาหารลูกกระรอก ที่โตได้เช่นกัน จริงๆแล้วควรฝึกให้ลูกกระรอกเริ่มกินผลไม้ ผัก ใบไม้เป็นหลัก และให้นมเป็นอาหารเสริม เพราะจะช่วยให้กระรอกมีร่างกายที่แข็งแรงมากกว่า

       การอาบน้ำกระรอก
ผู้เลี้ยงบางท่านชอบอาบน้ำให้กระรอก ซึ่งสามารถทำได้ แต่ควรจะเช็ดตัว และทำให้กระรอกตัวแห้งโดยเร็วเพื่อไม่ให้เป็นปอดบวม การอาบน้ำทำได้โดยใช้น้ำเปล่าอาบ หากจำเป็นต้องใช้แชมพูให้ใช้แชมพูของสุนัขที่อ่อนที่สุด โดยนำไปละลายน้ำให้เจือจางอีก 3-4 เท่า ก่อนอาบ 

      โรคและการเจ็บป่วย
• ท้องเสีย ลูกกระรอกต้องการความอบอุ่นมากกว่ากระรอกโต ดังนั้นที่อยู่ของมันควรจะปราศจากลมพัด อากาศอบอุ่น ควรมีการตั้งหลอดไฟ เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ลูกกระรอก มีผ้าเพื่อให้ลูกกระรอกซุกตัว และปลอดภัยจากสัตว์อื่นรวมทั้ง เด็กที่อาจจะเข้ามารบกวน และอันตรายแก่ลูกกระรอกได้
• ปอดบวม อาการที่พบคือ หายใจลำบาก หอบ มีน้ำมูก ไอ เบื่ออาหาร เป็นต้น สาเหตุมักเกิดจาก อากาศเย็นเกินไป การอาบน้ำ ความเครียดจากการย้ายที่อยู่ หรือเปลี่ยนอาหาร โรคนี้มักจะทำให้กระรอกเสียชีวิตได้ การรักษา มักจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา รวมทั้งต้องมีการป้อนอาหารเพื่อไม่ให้กระรอกขาดอาหารมากเกินไปด้วย การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยาวนานเกินไปอาจส่งผลให้กระรอกท้องเสียได้ ถ้าเกิดอาการท้องเสียหลังจากรักษาปอดบวมหายแล้ว ให้ป้อนโยเกิร์ตเป็นอาหารแก่กระรอกเพื่อเป็นการเพิ่มแบคทีเรียที่เป็น ประโยชน์ต่อร่างกาย ลดอาการท้องเสียได้


การเลี้ยงดูกระรอกทั่วไป

การเตรียมตัวสำหรับการเลี้ยงลูกกระรอก (อายุไม่เกิน2เดือน)
สำหรับการเลี้ยงลูกกระรอกวัยแรกเกิดหรือ เตาะแตะนั้น คุณจะต้องทำหน้าที่แทนแม่ของเจ้าตัวน้อยค่ะ คุณต้องสามารถดูแลเอาใจใส่ และมีเวลาอยู่กับเจ้าตัวน้อยเกือบตลอดเวลา ประหนึ่งแม่ที่ดูแลทารกน้อย

หลักการดูแลลูกกระรอก
 1.ลูกกระรอกต้องการความอบอุ่น คุณจะต้องให้เจ้าตัวน้อยได้รับความอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา เพราะกระรอกวัยนี้ยังแบเบาะ อ่อนแอมาก ถ้าจำเป็นที่จะต้องเลี้ยงในช่วงที่มีอากาศหนาว หรือเย็นอาจจะต้องใช้ถุงน้ำร้อนมาช่วยทำให้เจ้าตัวน้อยอบอุ่น หาผ้าหนาๆมาให้นอน ไม่ควรตั้งที่นอนของเจ้าตัวน้อยไว้ตากลม หรืออยู่ในห้องแอร์(ถ้าจำเป็นก็ควรหามุมที่อบอุ่นที่สุด)
ไม่เช่นนั้นน้องกระรอกจะไม่สบาย ถ้ากระรอกเป็นหวัดอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
และไม่เฉพาะ ความอบอุ่นทางกายเท่านั้น ลูกกระรอกจะชอบซุกตัวนอนในมือของเรา และจะหลับอย่างสบายในมืออบอุ่นของเจ้าของ เจ้าตัวน้อยมักจะร้องบ่อยๆ เหมือนเด็กเรียกหาแม่ ควรจะให้เวลาเขาได้นอนอยู่ในมือของเราทุกๆวัน เพื่อสร้างความคุ้นเคยและสายสัมพันธ์ต่อกันด้วย

2.การขับถ่าย ลูกกระรอกที่เล็กมากๆจะไม่สามารถถ่ายเองได้ จำเป็นต้องช่วยกระตุ้น
ด้วยการใช้สำลีชุบน้ำอุ่นๆเช็ดที่ก้นและที่ฉี่เหมือนที่แม่กระรอกจะเลียให้ ถ่ายออกมา เพราะถ้าไม่ถ่ายก็จะท้องอืดตายได้ อึของเจ้าตัวน้อยทั่วไปแล้วจะไม่ค่อยเป็นก้อนเป็นเพราะอาหารที่กินเข้าไป มักจะถ่ายเป็นสีเข้มนิ่มๆจนถึงเป็นก้อน แต่ไม่ควรมีสีอ่อนมากเกินไป หรือเละเกินไป ถ้ามีสีอ่อนเละ หรือเป็นของเหลว ควรตรวจสอบเรื่องอาหาร และรีบพาไปพบหมอโดยด่วน

3.การให้อาหาร อาหารสำหรับลูกกระรอกนั้น ห้ามให้น้ำนมวัวเป็นอันขาด เพราะในนมวัวนั้นลูกกระรอกเล็กๆจะย่อยไม่ได้ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย และตายไปในที่สุด เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกกระรอกส่วนใหญ่ตายมากที่สุด อาหารที่แนะนำคือ ซีลีแลค (อาหารเสริมสำหรับเด็ก) อาจใช้เป็นสูตรเริ่มต้นก่อน(ราคาประมาณ 45 บาท) ชงกับน้ำร้อน 1ต่อ 3-4(ซีลีแลค1ส่วน น้ำ 3-4ส่วน) หรือเอาใส่ไมโครเวฟต้มประมาณ 20 วินาที(ระวังจะล้นในขณะที่ต้มต้องคอยดู) หรือเป็นนมสำหรับเลี้ยงลูกสนุขหรือลูกสัตว์เล็กๆ ซึ่งจะมีราคาแพงใช้ในกรณีที่คุณหมอแนะนำ หากลูกกระรอกไม่สามารถกินซีลีแลคได้

ปริมาณในการให้อาหาร ลูกกระรอกเล็กๆจะกินบ่อยเหมือนกับเด็กทารก คืออย่างน้อยทุกๆ 3-4ชั่วโมง หรือ วันละ 5 ครั้งขึ้นไป โดยใช้Dropper หรือหลอดสำหรับดูดที่มีจุกยางสีส้มป้อน อย่าให้มากเกินไป 2-3 หลอดก็พอ ถ้าอิ่มมากไปจะท้องอืดได้ และอย่าปล่อยให้หิวเกินไปเพราะจะทำให้ เจ้าตัวน้อยรีบกินจะทำให้เลอะเข้าจมูก หรือสำลักได้ จะเป็นอันตรายกับเจ้าตัวน้อยในที่สุด

4.ป่วย ถ้าเจ้าตัวน้อยไม่สบายควรรีบพาไปหาหมอเพราะมีโอกาส เกิดอาการเฉียบพลันได้ง่าย โรคที่ควรระวังเป็นอย่างยิ่ง ไม่ควรปล่อยไว้ดูอาการ จะสายเกินไป
- โรคท้องอืด สำหรับเจ้าตัวน้อยที่ไม่ถ่ายก็เป็นอันตรายถึงตายได้ เมื่อให้อาหารแล้วสักพักหนึ่ง ควรมีการเช็ดก้นด้วยสำลีชุบน้ำอุ่นเพื่อนกระตุ้นให้ถ่าย น้องกระรอกที่ท้องอืด ท้องจะบวมผิดปกติ ก้น ถ้าถ่ายไม่ออกนานๆ ก้นจะบวม แดง ถ้าไม่สามารถทำให้ถ่ายได้ ควรพาไปหาหมอ
- โรคท้องเสีย มักเกิดจากอาหาร เช่นให้นมวัว (ไม่ควรให้เด็ดขาด) หรือไม่สามารถกินซีลีแลคได้ หรือสาเหตุอื่นๆ จะมีอาการถ่าย เละเป็นสีอ่อนๆ หรือเป็นของเหลว ก้นจะเปียก เซื่องซึม ซึ่งเป็นอาการขั้นรุนแรง ควรสังเกตการถ่ายของเจ้าตัวน้อยอยู่เสมอถ้ามีอาการที่เริ่มจะท้องเสียควร ตรวจสอบอาหาร และรีบไปพบคุณหมอทันทีอย่าปล่อยไว้ เพราะอันตรายมากสำหรับลูกกระรอกที่อายุน้อย
- โรคหวัด เกิดจากอากาศหนาว หรือน้องกระรอกไม่ได้รับความอบอุ่นพอเพียง จะมีอาการจมูกแห้ง (เริ่มไม่สบาย) ซึ่งปกติแล้วจมูกของน้องกระรอกจะ ชื้นเล็กน้อย ถ้าไม่สบายแล้วจะมีน้ำมูกใสๆออกมา หรือจามบ่อยๆ ถ้าเป็นมากจะไม่ค่อยกินอาหารหรือซึมๆ ซึ่งจะดูได้ยากเพราะช่วงอายุนี้ น้องกระรอกจะนอนเป็นส่วนใหญ่ ขั้นต้นคือทำให้อบอุ่นมากๆ แล้วรีบพาไปหาหมอ เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน อาจทำให้ลุกลามเป็นปอดบวมและตายได้ในที่สุด

5.ยังไม่ลืมตา สำหรับคนที่เลี้ยงลูกกระรอกที่ยังไม่ลืมตา ควรดูแลมากเป็นพิเศษ เพราะมี
โอกาสตายสูงมากหากเลี้ยงไม่เป็น หรือไม่เอาใจใส่ ควรช่วยกระตุ้นให้เจ้าตัวน้อยลืมตาบ้างด้วยการ ใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดเบาๆที่ตา เหมือนแม่ของเจ้าตัวน้อย